วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555




TCP/IP 

ทีซีพี หรือ TCP มาจากคำว่า Transmission Control Protocol ทีซีพี เป็นชุดของโปรโตคอลที่ถูกใช้ในการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถใช้ สื่อสารจากต้นทางข้ามเครือข่ายไปยังปลายทางได้ และสามารถหาเส้นทางที่จะส่งข้อมูลไปได้เองโดยอัตโนมัติ ถึงแม้ว่า ในระหว่างทางอาจจะผ่านเครือข่ายที่มีปัญหา โปรโตคอลก็ยังคงหาเส้นทางอื่นในการส่งผ่านข้อมูลไปให้ถึงปลายทางได้
ทีซีพี เป็นโปรโตคอลที่ได้รับความนิยมที่สุดในโลกของอินเทอร์เน็ต มีแอปพลิเคชันจำนวนมากที่ใช้โปรโตคอลทีซีพีเป็นสื่อกลางในการเชื่อมต่อ เช่น เวิลด์ไวด์เว็บ เป็นต้น

TCP เป็นโปรโตคอลในระดับชั้นที่ 4 เมื่อเทียบกับ OSI มีลักษณะการทำงานเป็น Virtual Circuit คือจะมีการทำวงจร เสมือนขึ้นมาก่อนที่จะรับส่งข้อมูลกัน นั่นคือ แต่ละโหนดต้องมีตารางของ address และ destination route เพื่อให้รู้ว่าจะต่อกับใครจึงจะได้วงจรเสมือนตามต้องการ เมื่อทำ connection setup เสร็จแล้วก็จะรับส่งข้อมูลกัน โดยใช้เส้นทางนี้ตลอด ดังนั้นจะไม่มีปัญหาเรื่องการเรียงลำดับของชุดข้อมูลผิดพลาด หรือ เกิดการซ้ำซ้อนของข้อมูล การส่งผ่านข้อมูลบน TCP เป็น byte stream-oriented สำหรับหน้าที่ของ TCP นี้ก็คือ จัดการเรื่อง ตรวจสอบ error , ทำ flow control , ทำการ multiplex หรือ demultiplex application layer connection นอกจากนี้ก็ยังทำ หน้าที่ควบคุมแลกเปลี่ยนสถานะและทำ Synchronization ด้วย


TCP เป็นโปรโตคอลในระดับชั้นที่ 4 เมื่อเทียบกับ OSI มีลักษณะการทำงานเป็น
Virtual Circuit คือจะมีการทำวงจร เสมือนขึ้นมาก่อนที่จะรับส่งข้อมูลกัน นั่นคือ
แต่ละโหนดต้องมีตารางของ address และ destination route เพื่อให้รู้ว่า
จะต่อกับใครจึงจะได้วงจรเสมือนตามต้องการ เมื่อทำ connection setup
เสร็จแล้วก็จะรับส่งข้อมูลกัน โดยใช้เส้นทางนี้ตลอด ดังนั้นจะไม่มีปัญหา
เรื่องการเรียงลำดับของชุดข้อมูลผิดพลาด หรือ เกิดการซ้ำซ้อนของข้อมูล
การส่งผ่านข้อมูลบน TCP เป็น byte stream-oriented สำหรับหน้าที่ของ TCP นี้
ก็คือ จัดการเรื่อง ตรวจสอบ error , ทำ flow control , ทำการ multiplex หรือ
 demultiplex application layer connection นอกจากนี้ก็ยังทำ หน้าที่ควบคุมแลก
เปลี่ยนสถานะและทำ Synchronization ด้วย


http://www.kmitl.ac.th/~kpteeraw/data_com/datacom_52/datacom/page02.html




Lab exercise:


       1) Note down the TCP/IP configuration of your machine:
To check the TCP/IP configuration, double click on the LAN
icon on your taskbar (two small monitors on the right hand side
of your taskbar that look like). Next,
click on the Support tab of the window.






  a. Note down the IP address configured on your machine?

 - 192.168.1.115
b. What is the subnet mask?
 - 255.255.255.0  
c. Is the address manually configured, or assigned automatically through a server
(Hint: the name of the server that automatically configures IP address is called a “dynamic host configuration protocol’’ [DHCP] server)

 - 192.168.1.1

d. What is the IP address of the default gateway? Is the gateway used for communication in the same network, or in communications with other networks?


-                ให้ที่อยู่IP ของอุปกรณ์และเราเตอร์ในกลุ่มเครือข่ายเดียวกัน ตามที่ตั้งค่าเริ่มต้นโดยทั่วไปเกตเวย์เริ่มต้นเป็นที่อยู่ IP ของเรา เตอร์เพื่อให้ใส่ที่อยู่ IP  ในเบราว์เซอร์เพื่อให้บรรลุการเยี่ยมชมอุปกรณ์ LAN


   
       2) Open a DOS command prompt (start > run > cmd), and use the tracert command on your machine to trace the route of a packet from your machine to the machine http://www.google.com/.

a. What is the IP address of the first hop router?
    -     61.19.1.49

วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย

ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย

ประวัติการใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2530
 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (Asian Institute of Technology หรือ AIT) ได้ติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อใช้ในการศึกษา โดยเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail กับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย โดยใช้สายโทรศัพท์ติดต่อรับส่งข้อมูลผ่านทางโมเด็มด้วยระบบ MSHnet และ UUCP โดยประเทศออสเตรเลียเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการโทรทางไกลระหว่างประเทศวันละ 4 ครั้ง
พ.ศ. 2535

สำนักวิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมมือกับ NECTEC ในการพัฒนาเครือข่าย ไทยสาร (Thaisarn : Thai Social/scientific, Academic and Research Network) เพื่อพัฒนาเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของสถาบันอุดมศึกษาภายในประเทศจำนวน 6 หน่วยงานเข้าด้วยกัน ได้แก่
1. ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ (NECTEC)
2. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3. สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)
4. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
5. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
6. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ศ. 2536 
 เครือข่ายไทยสารขยายขอบเขตบริการเข้าเชื่อมต่อกับสถาบันการศึกษา และหน่วยงานของรัฐเพิ่มเป็น 19 แห่ง โดยทาง NECTEC ได้ทำการเช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย เพื่อเพิ่มความสามารถในการรับส่งข้อมูล
พ.ศ. 2537
 ประเทศไทยมีเครือข่ายที่เชื่อมต่อกันทั้งสิ้น 35 เครือข่าย เป็นคอมพิวเตอร์รวมทั้งสิ้น 1,267 เครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งจัดได้ว่าประเทศไทยมีเครือข่ายใหญ่เป็นอันดับ 6 ในย่านเอเชียแปซิฟิก รองจากออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี และนิวซีแลนด์
ปัจจุบัน
            เครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีการขยายตัวอย่างมากควบคู่ไปกับเครือข่ายไทยสาร และขยายตัวออกส่วนภูมิภาคแล้ว เครือข่ายของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่จะให้บริการเชิงธุรกิจ ส่วนเครือข่ายไทยสารยังคงให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่สถาบันการศึกษาและหน่วยงานของรัฐโดยไม่หวังผลกำไร

บริการระบบอินเตอร์เน็ต

องค์กรที่ทำหน้าที่ดูแลเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มีชื่อว่า Internet Architecture Board หรือ IAB ซึ่งทำหน้าที่ควบคุม ดูแลองค์การต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอินเตอร์เน็ตทั้งหมด รวมถึงประสานงานกับองค์การที่ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานต่าง ๆเช่น ISO และ ITU-T อีกด้วย IAB มีคณะทำงานอยู่ 2 คณะ คือ
1.            Internet Engineering Task Force หรือ IETF
2.            Internet Research Task Force หรือ IRTF ซึ่งจะทำหน้าที่จัดทำเอกสารกำหนรายละเอียด
เกี่ยวกับโพรโตคอลและมาตรฐานต่าง ๆ รวมถึงทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอินเตอร์เน็ตอีกด้วย

 ผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต (ISP)

ผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต (Internet Service Provider หรือ ISP) หมายถึงหน่วยงานที่ให้บริการในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตต้องสมัครเป็นสมาชิก ISP ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นรายชั่วโมง รายเดือน หรือรายปี แล้วแต่จะตกลงกัน ตัวอย่างของผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้แก่ Ji-net, A-Net Internet,
Internet KSC, Asia Net, Pacific Internet, Loxinfo และ CS Internet เป็นต้น
การตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต อาจพิจารณาจากเงื่อนไขต่อไปนี้ คือ
-                   -  ความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (Reliability) เช่นชื่อเสียงทางธุรกิจของบริษัท จำนวนลูกค้าที่ใช้บริการของบริษัท เป็นต้น
-                   -  ประสิทธิภาพของตัวระบบ (Performance) ซึ่งอาจดูได้จากการเชื่อมต่อง่าย รวดเร็ว และต่อเนื่องหรือไม่ เมื่อต่อแล้วสายโทรศัพท์หลุดบ่อยหรือไม่ การรับส่งข้อมูลสม่ำเสมอเพียงใด
-                 -    มีบริการให้คำปรึกษาการใช้งาน (Technical Support)
-                 -    เนื้อที่ในการให้บริการจัดเก็บข้อมูล เช่นอีเมล์ หรือไฟล์ที่ดาวน์โหลดมาจากอินเตอร์เน็ตโมเด็มหรือเบอร์โทรศัพท์ของผู้ให้บริการ ควรตรวจสอบดูว่ารองรับกับอุปกรณ์ที่เรามีอยู่หรือไม่
-                   -  ค่าบริการ นับเป็นองค์ประกอบสำคัญซึ่งจะต้องดูว่าคุ้มค่ากับบริการที่ได้รับหรือไมบริการเสริมต่าง ๆ
-                 -    สิ่งที่ได้รับเมื่อสมัครเป็นสมาชิกจากผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต User Account ซึ่งประกอบด้วย Username และ Password เพื่อเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เพื่อใช้สำหรับหมุนโมเด็มในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแผ่นดิสก์ หรือซีดีรอม เพื่อใช้ในการติดตั้งค่าในเครื่องคอมพิวเตอร์

ISP หรือ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต


ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือ Internet Service Provider

คือ หน่วยงานที่บริการให้เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัท เข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลก ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ หน่วยงานราชการหรือสถาบันการศึกษา กับบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ทั่วไป

ISP ที่เป็นหน่วยงานราชการ หรือสถาบันการศึกษา มักจะเป็นการให้บริการฟรีสำหรับสมาชิกขององค์การเท่านั้น แต่สำหรับ ISP ประเภทที่ให้บริการในเชิงพาณิชย์ ผู้ใช้ที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตจะต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิกของ ISP รายนั้นๆ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งอัตราค่าบริการจะขึ้นอยู่กับ ISP แต่ละราย

ข้อดีสำหรับผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ก็คือ การให้บริการที่มีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งรองรับกับความต้องการของผู้ใช้ที่แตกต่างกัน มีทั้งรูปแบบส่วนบุคคล ซึ่งจะให้บริการกับประชาชนทั่วไปที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ต และบริการในรูปแบบขององค์กร หรือบริษัท ซึ่งให้บริการกับบริษัทห้างร้าน หรือองค์กรต่าง ๆ ที่ต้องการให้พนักงานในองค์กรได้ใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ISP จะเป็นเสมือนตัวแทนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ถ้าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต้องการข้อมูลอะไรก็สามารถติดต่อผ่าน ISP ได้ทุกเวลา โดยวิธีการสมัครสมาชิกนั้น เราสามารถโทรศัพท์ติดต่อไปยัง ISP ที่ให้บริการต่าง ๆ ซึ่งเราสามารถเลือกรับบริการได้ 2 วิธี คือ ซื้อชุดอินเทอร์เน็ตสำเร็จรูปตามร้านทั่วไปมาใช้ และสมัครเป็นสมาชิกรายเดือน โดยใช้วิธีการติดต่อเข้าไปยัง ISP โดยตรง ซึ่งวิธีการ และรายละเอียดในการให้บริการของแต่ละที่นั้นจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับรูปแบบการให้บริการของ ISP รายนั้น ๆ จะกำหนด
ในการเลือก ISP นั้น ต้องพิจารณาความเหมาะสมในการใช้งานของเราเป็นหลัก โดยมีหลักในการพิจารณาหลายอย่างด้วยกัน เช่น ความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตว่ามีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับหรือไม่ ดำเนินธุรกิจด้านนี้มากี่ปี มีสมาชิกใช้บริการมากน้อยขนาดไหน มีการขยายสาขาเพื่อให้บริการไปยังต่างจังหวัดหรือไม่ มีการลงทุนที่จะพัฒนาการให้บริการมากน้อยเพียงใด เป็นต้น

ประสิทธิภาพของตัวระบบ ก็เป็นส่วนสำคัญที่เราจำเป็นต้องพิจารณาด้วย เช่น ความเร็วในการรับ/ส่ง สม่ำเสมอหรือไม่ (บางครั้งเร็วบางครั้งช้ามาก) สายโทรศัพท์ต้นทางหลุดบ่อยหรือไม่ หรือในบางกรณีที่เรากำลังถ่ายโอนข้อมูล มายังเครื่องคอมพิวเตอร์ปรากฏว่าใช้งานไม่ได้ การเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศ ไปที่ใดบ้างด้วยความเร็วเท่าไหร่ และการเชื่อมต่อกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศเป็นอย่างไร มีสายสัญญาณหลักที่เร็ว หรือมีประสิทธิภาพสูงมากเพียงใด เพราะปัจจัยเหล่านี้จะมีผลต่อความเร็วในการใช้อินเทอร์เน็ตด้วย บริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้งาน Technician Support นี่ก็เป็นส่วนสำคัญที่เราควรจะต้องพิจารณา เพราะหากการใช้บริการของเรามีปัญหา เราจะได้มั่นใจว่าทาง ISP จะมีการดูแลแก้ไขให้ได้อย่างทันท่วงที และเราจะสามารถสอบถามการบริการใหม่ๆได้อยู่เสมอ รวมถึงบริการเสริมต่างๆก็เป็นสิ่งที่เราควรจะต้องพิจารณาด้วยเช่นเดียวกัน

ISP มีการให้บริการอยู่ 2 ประเภท คือ

1. Narrowband

Modem ก็เป็นส่วนสำคัญที่เราจะต้องใช้ในการท่องอินเทอร์เน็ต เราควรตรวจสอบโมเด็มที่เราใช้งานอยู่ว่าเป็นโมเด็มแบบใด 33.6Kbps หรือ 56 Kbps เนื่องจากโมเด็มมีมาตรฐานหลายแบบ ดังนั้น ควรตรวจสอบดูว่า ISP นั้นๆ สามารถรองรับโมเด็มของเราได้หรือไม่ ทั้งในด้านความเร็วและมาตรฐานต่างๆ เพราะ ISP แต่ละรายการจะมีหมายเลขโทรศัพท์หลายหมายเลขด้วยกัน ซึ่งแต่ละหมายเลขจะใช้สำหรับโมเด็มที่มีความเร็วและมาตรฐานที่แตกต่างกัน

2. Broadband

Cable Modem สำหรับบ้านเรา ยังเป็นของใหม่ ที่เริ่มมีให้บริการจากผู้ให้บริการหลายราย เช่น TelecomAsia เป็นต้น Cable Modem เป็น Modem ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างผู้รับบริการตามบ้าน กับผู้ให้บริการ (Service Provider) โดยผ่านทางเครือข่ายสาย Cable TV ที่มีอยู่แล้ว เช่น การใช้ร่วมกับสาย Cable ของ UBC เป็นต้น โดยทั่วไปการเชื่อมต่อของ Cable Modem จะมีอยู่ 2 จุดได้แก่ การเชื่อมต่อที่มีปลายด้านหนึ่งไปที่ จุดเชื่อมต่อสาย Cable TV บนผนัง ขณะที่ปลายอีกด้านหนึ่ง เชื่อมต่อกับ เครื่อง PC
อุปกรณ์ Cable Modem มักจะเป็นอุปกรณ์ภายนอก ที่เชื่อมต่อกับ PC ผ่านทาง LAN Card ตามมาตรฐาน Ethernet 10Base-T และสายตีเกลียว ส่วนตัว Cable Modem มักจะเป็น ตัว Modem ภายนอก ที่เชื่อมต่อกับ PC โดยตรงโดยทาง Universal Serial Bus (USB) หรือ เป็นแบบ Internal ที่ติดตั้งบน PCI Bus

อัตราความเร็วในการทำงานของ Cable Modem ขึ้นอยู่กับระบบของมันที่ใช้ ขึ้นอยู่กับสถาปัตยกรรมของเครือข่าย และปริมาณการใช้งาน หรือ ความหนาแน่นในการใช้งานของเครือข่าย โดยปกติแล้วการส่งถ่ายข้อมูลเชิง Downstream (จากเครือข่ายสู่คอมพิวเตอร์) อัตราความเร็วของมันสามารถทะยานสู่ 27 Mbps ได้อย่างสบาย โดยอัตราความเร็วนี้ อาจถูกเฉลี่ยออกไปตามจำนวนของผู้เข้ามาใช้ในเครือข่ายขณะนั้น และก็เป็นเรื่องยากที่เครื่องคอมพิวเตอร์ บนเครือข่ายสามารถวิ่งได้ด้วยความเร็วขนาดนั้น ดังนั้น ค่าเฉลี่ยความเร็วสูงสุดที่ทำได้อยู่ที่ 1-3 Mbps เท่านั้น อย่างไรก็ดี อัตราความเร็วยังขึ้นอยู่กับ ผู้ให้บริการ อีกทั้งยังแตกต่างไปตามชนิดและ ข้อตกลงในการให้บริการอีกด้วย อัตราความเร็วการส่งถ่ายข้อมูล เชิง Upstream (จากคอมพิวเตอร์สู่เครือข่าย) จะมีค่าที่ต่ำกว่า Downstream เช่นเดียวกับกับ ADSL อัตราความเร็วที่สามารถส่งถ่ายแบบ Upstream จะอยู่ที่10 Mbps อย่างไรก็ดี ทั้งผู้ผลิต Cable Modem และผู้ให้บริการเครือข่าย ได้กำหนดความเหมาะสมที่ความเร็ว 500Kbps ไปจนถึง 2.5 Mbps แต่ก็มีผู้ให้บริการบางรายได้กำหนดความเร็ว Upstream จำกัดที่ 256 Kbps เท่านั้นการที่ Cable Modem มีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูล ทั้งขาล่องขึ้นและล่องลง ไม่เท่ากัน นี่เอง จึงถูกเรียกว่า เป็นการทำงานแบบ Asymmetric และได้รับมาตรฐานการทำงานที่ถูกกำหนดโดย DOCSIS EuroDOCSIS และ DVB EuroModem

ADSL มาจากคำว่า Asymmetric Digital Subscriber Line เป็นเทคโนโลยีของ Modem แบบใหม่ ที่เปลี่ยนโฉมหน้าของสายโทรศัพท์ที่ทำจากลวดทองแดง ให้เป็นเส้นสัญญาณนำส่งข้อมูลความเร็วสูง โดย ADSL สามารถจัดส่งข้อมูลจากผู้ให้บริการด้วยความเร็วมากกว่า 6 Mbps ไปยังผู้รับบริการ หมายความว่า ผู้ใช้บริการสามารถ Download ข้อมูลด้วยความเร็วสูงมากกว่า 6 Mbps ขึ้นไปจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือผู้ให้บริการข้อมูลทั่วไป (ส่วนจะได้ความเร็ว กว่า 6 Mbps หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ รวมทั้งระยะทางการเชื่อมต่ออีกด้วย) ความเร็วขณะนี้ มากเพียงพอสำหรับงานต่างๆ ต่อไปนี้

งาน Access เครือข่าย อินเทอร์เน็ต
การให้บริการแพร่ภาพ Video เมื่อร้องขอ (Video On Demand)
ระบบเครือข่าย LAN
การสื่อสารข้อมูลระหว่างสถานที่ทำงานกับบ้าน (Telecommuting)
ประโยชน์จากการใช้บริการ ADSL
ท่านสามารถคุยโทรศัพท์พร้อมกันกับการ Access ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้พร้อมกัน ด้วยสายโทรศัพท์เส้นเดียวกัน โดยไม่หยุดชะงัก
ท่านสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วเป็น 140 เท่าเมื่อเทียบกับการใช้ Modem แบบ Analog ธรรมดา
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของท่านจะถูกเปิดอยู่เสมอ (Always-On Access) ที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากการส่งถ่ายข้อมูลถูกแยกออกจากการ เรียกเข้ามาของ Voice หรือ FAX ดังนั้นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของท่านจะไม่ถูกกระทบกระเทือนแต่อย่างใด
ไม่มีปัญหาเนื่องสายไม่ว่าง ไม่ต้อง Log On หรือ Log off ให้ยุ่งยากอีกต่อไป
• ADSL ไม่เหมือนกับการให้บริการของ Cable Modem ตรงที่ ADSL จะทำให้ท่านมีสายสัญญาณพิเศษเฉพาะเพื่อเชื่อมต่อกับ อินเทอร์เน็ต ขณะที่ Cable Modem เป็นการ Share ใช้สายสัญญาณกับผู้ใช้คนอื่นๆ ที่อาจเป็นเพื่อนบ้านของท่าน
ที่สำคัญ Bandwidth การใช้งานของท่านจะมีขนาดคงที่ (ตามอัตราที่ท่านเลือกใช้บริการอยู่เสมอ) ขณะที่ขนาดของ Bandwidth ของการเข้ารับบริการ Cable Modemหรือการใช้บริการ อินเทอร์เน็ตปกติของท่าน จะถูกบั่นทอนลงตามปริมาณการใช้งาน อินเทอร์เน็ตโดยรวม หรือการใช้สาย Cable Modem ของเพื่อนบ้านท่าน
สายสัญญาณที่ผู้ให้บริการ ADSL สำหรับท่านนั้น เป็นสายสัญญาณอิสระไม่ต้องไป Share ใช้งานกับใคร ด้วยเหตุนี้ จึงมีความน่าเชื่อถือ และมีความปลอดภัยสูง

เนื้อที่ในการจัดเก็บข้อมูล ที่ทางผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอนุญาตให้สมาชิกจัดเก็บข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ เช่น เนื้อที่ที่ให้จัดเก็บอีเมล์หรือจัดเก็บไฟล์ข้อมูลไปที่ดาวน์โหลดจากแหล่งข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ซึ่งโดยทั่วไป ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจะให้พื้นที่เก็บข้อมูลประมาณ 2 MB
ค่าบริการรายเดือน ก็เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการเลือกผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ค่าบริการรายเดือนจะถูกกำหนดตามชั่วโมงของการใช้งาน จำนวนชั่วโมงในการใช้งานยิ่งมากเท่าไหร่ ก็จะเสียค่า บริการเพิ่มมมากขึ้นตามลำดับ นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาที่ค่าธรรมเนียมแรกเข้าด้วย เพราะบาง ISP จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมแรกเข้า แต่บาง ISP จะไม่มีการเรียกเก็บ
หลังจากที่เราเลือกผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการติดต่อขอใช้บริการอินเทอร์เน็ตกับ ISP ซึ่งในประเทศไทยมีผู้ให้บริการ 18 แห่งด้วยกัน คือ

1. บริษัท ล็อกซ์เล่ย์ อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส จำกัด
2. บริษัท เคเอสซี คอมเมอร์เชียล อินเทอร์เน็ต จำกัด
3. บริษัท อินโฟ แอคเซส จำกัด
4. บริษัท สามารถ อินโฟเน็ต จำกัด
5. บริษัท เอเน็ต จำกัด
6. บริษัท ไอเน็ต (ประเทศไทย) จำกัด
7. บริษัท เวิลด์เน็ต แอน เซอร์วิส จำกัด
8. บริษัท ดาตา ลายไทย จำกัด
9. บริษัท เอเชีย อินโฟเน็ต จำกัด
10. บริษัท ดิไอเดีย คอร์ปอเรชั่น ประเทศไทย จำกัด
11. บริษัท สยาม โกลบอล แอกเซส จำกัด
12. บริษัท ซีเอส คอมมิวนิเคชั่น จำกัด
13. บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด
14. บริษัท ชมะนันท์ เวิลด์เน็ต จำกัด
15. บริษัท ฟาร์อีสต์ อินเทอร์เน็ต จำกัด
16. บริษัท อีซีเน็ต จำกัด
17. บริษัท เคเบิล วายเลส จำกัด
18. บริษัท รอยเน็ต จำกัด (มหาชน)

โครงสร้างตลาดอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

ตลาดการให้บริการอินเทอร์เน็ตไทยประกอบไปด้วยฝ่ายต่างๆ ดังต่อไปนี้
1) การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) ซึ่งเป็นผู้ให้สัมปทานการให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศ และ ผูกขาดบริการการสื่อสารระหว่างประเทศ
2) บริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider หรือ ISP) ซึ่งในปัจจุบันมีเกินกว่า 10 รายที่ให้บริการแล้ว และ มีเกินกว่า 20 รายที่ได้สัมปทานในการให้บริการจาก กสท.
3) ผู้ใช้บริการซึ่งมีทั้งผู้ใช้บริการประเภทบุคคล (individual user) และ ผู้ใช้บริการประเภทองค์กร (corporate user) โดยผู้ใช้ประเภทบุคคลโดยทั่วไปมักจะใช้บริการเชื่อมต่อจากการหมุนโทรศัพท์ผ่านโมเด็ม (dial up) ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ของบริษัทผู้ให้บริการ ส่วนผู้ใช้ประเภทองค์กรส่วนหนึ่งจะเชื่อมต่อโดยผ่านสายเช่า (leased line) ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ของบริษัทผู้ให้บริการ
4) บริษัทผู้ให้บริการสื่อสารระหว่างประเทศ (international carrier) เช่น Global One, MCI และ TeleGlobe ซึ่งให้บริการเชื่อมต่อวงจรอินเทอร์เน็ตของบริษัทผู้ให้บริการไทยเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของโลก โดยทั่วไปแล้ว บริษัทเหล่านี้มักเป็นบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในต่างประเทศด้วย
ลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่งของตลาดการให้บริการอินเทอร์เน็ตของประเทศไทยคือมีการผูกขาดและแทรกแซงตลาดในรูปแบบต่างๆ เป็นอย่างมากโดยหน่วยงานรัฐ คือ กสท.
ในการศึกษาเกี่ยวกับ ตลาดผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต ขอเลือกตัวอย่างผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต 2 รายใหญ่ที่ครองตลาด ISP อยู่ในขณะนี้ คือ True กับ 3 Broadband
True VS 3BB ปี 53 ใครจะครองตลาดบอร์ดแบนด์อินเทอร์เน็ต ร่วมวิเคราะห์กับชาวสังคมบอร์ดแบนด์แห่งประเทศไทย

ทรูเคยเป็นเจ้าตลาดบอร์ดแบนด์ทั้งระดับประเทศและในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร คือมีจำนวนผู้ใช้บริการมากที่สุด และในปี 51 ก็ยังคงส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับ 1 อยู่โดยปล่อยให้ 3BB และทีโอที เป็นอันดับ 2 และอันดับ 3 ตามลำดับ แม้ว่าในระดับภูมิภาคจะไม่สามารถสู้กับทีโอที และ 3BB ได้ แต่ลูกค้าส่วนใหญ่ของทรูอยู่ในกรุงเทพมหานครด้วยส่วนแบ่งปัจจุบันประมาณ 75% ในตลาดเมืองหลวง
ปี 2547 ทรูมีส่วนแบ่งทางการตลาดกว่า 90% ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพ ด้วยฐานของเบอร์โทรศัพท์พื้นฐานที่มีมากพอๆ กับทีโอที ในสมัยนั้น
ปี 2548-2549  ทรูมีส่วนแบ่งทางการตลาดลดลงเรื่อยๆ เนื่องจากทีโอทีได้เปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงทั่วประเทศทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัดมากขึ้นเรื่อยๆ และลูกค้าในส่วนภูมิภาคก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ในกรุงเทพทรูก็ยังครองส่วนแบ่งทางการตลาดราว 80-85%
ปี 2550-2551 ทรูที่ทำตลาดหลักเฉพาะในกรุงเทพ ก็มีส่วนแบ่งลดลงเรื่อยๆ จนช่วงไตรมาสที่ 1-2 ของปี 52 มีส่วนแบ่งทางการตลาดในพื้นที่เมืองหลวงลดลงเหลือประมาณ 75%


บริการต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต
        บริการบนอินเทอร์เน็ตมีหลายประเภท เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ได้เลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะงาน ซึ่งในที่นี้จะยกตัวอย่างบริการบนอินเทอร์เน็ตที่สำคัญดังนี้

        1.บริการด้านการสื่อสาร
        1.1 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(electronic mail)
        ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่าอีเมล์ (E-mail) ถือได้ว่าเป็นกิจกรรมประจำวันของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ซึ่งการส่งและรับจดหมาย หรือข้อความถึงกันได้ทั่วโลกนี้จำเป็นจะต้องมีที่อยู่อีเมล์ (e-mail address หรือ e-mail account) เพื่อใช้เป็นกล่องรับจดหมาย ที่อยู่ของอีเมล์จะประกอบ ด้วยส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ ชื่อผู้ใช้ (User name) และชื่อโดเมน(Domain name) ซึ่งเป็นชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีรายชื่อของผู้ใช้อีเมล์ โดยชื่อผู้ใช้และชื่อโดเมนจะคั่นด้วยเครื่องหมาย @(อ่านว่า แอ็ท) เช่น Sriprai@sukhothai.siamu.ac.th จะมีผู้ใช้อีเมล์ชื่อ Sriprai ที่มีอยู่อีเมล์ ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ชื่อ sukhothai ของมหาวิทยาลัยสยาม(siamu) ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษา (ac) ในประเทศไทย (th)

        ในการรับ-ส่งจดหมาย โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น ได้มีการพัฒนาโปรแกรมที่ใช้สำหรับอีเมล์อยู่หลายโปรแกรม เช่น โปรแกรม Microsoft Outlook Express โปรแกรม Netscape Mail เป็นต้น นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถลงทะเบียนเพื่อขอรับที่อยู่อีเมล์ได้ฟรีจากเว็บไซต์ที่ให้บริการที่อยู่อีเมล์ฟรี เว็บไซต์ที่เป็นที่รู้จักและนิยม ได้แก่ www.hotmail.com, www.chaiyo.com, www.thaimail.com

        โดยทั่วไปแล้ว ส่วนประกอบหลัก ๆ ของอีเมล์จะประกอบด้วยส่วนหัว (header) และส่วนข้อความ (message)

        1.2 รายชื่อกลุ่มสนทนา (mailing lists)
        mailing lists เป็นกลุ่มสนทนาประเภทหนึ่งบนอินเทอร์เน็ตที่มีการติดต่อสื่อสารและการส่งข่าวสารให้กับสมาชิกตามรายชื่อและที่อยู่ของสมาชิกที่มีอยู่ ในรายการซึ่งในปัจจุบันมีกลุ่ม mailing lists ที่แตกต่างกันตามความสนใจจำนวนมาก การเข้าไปมีส่วนร่วมในกลุ่มสนทนาประเภทนี้ ผู้ใช้จะต้อง สมัครสมาชิกก่อนด้วยการแจ้งความประสงค์และส่งชื่อและที่อยู่เพื่อการลงทะเบียบไปยัง subscription address ของ mailing lists ตัวอย่าง mailing list เช่น ทัวร์ออนไลน์ (tourbus@listserv.aol.com)กลุ่มสนทนาเรื่องตลก (dailyjoke@lists.ivllage.com)

        1.3 กระดานข่าว (usenet)
        ยูสเน็ต (usenet หรือ user network) เป็นการรวบรวมของกลุ่มข่าวหรือ newsgroup ซึ่งเป็นกลุ่มผู้สนใจที่ต้องการจะติดต่อและแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตคนอื่น ๆ กลุ่มของ newsgroup ในปัจจุบันมีมากกว่า 10,000 กลุ่มที่มีความสนใจในหัวข้อที่แตกต่างกัน เช่น กลุ่มผู้สนใจศิลปะ กลุ่มคอมพิวเตอร์ กลุ่มผู้ชื่นชอบภาพยนต์ เป็นต้น

        การส่งและรับแหล่งข่าวจาก usenet จะใช้โปรแกรมสำหรับอ่านข่าวเพื่อไปดึงชื่อของกลุ่มข่าวหรือหัวข้อจากเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้เข้าไปขอใช้บริการ

        เช่นเดียวกับระบบชื่อโดเมน (DNS) กลุ่มข่าวจะมีการตั้งชื่อเพื่อใช้เป็นแบบมาตรฐาน ซึ่งชื่อกลุ่มจะประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก ๆ คือ ชื่อหัวข้อกลุ่มข่าวหลัก (major topic) ชื่อกลุ่มข่าวย่อย (subtopic) และประเภทของกลุ่มข่าวย่อย (division of subtopic) ตัวอย่างเช่น

        1.4 การสนทนาออนไลน์(On-line chat)
        การสนทนาออนไลน์ เป็นบริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ตที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถคุยโต้ตอบกับผู้ใช้คนอื่น ๆ ได้ในเวลาเดียวกัน (real-time) การสนทนาหรือ chat (Internet Relay Chat หรือ IRC)ได้มีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันการสนทนาระหว่างบุคคลหรือ กลุ่มบุคคลสามารถใช้
ภาพกราฟิก ภาพการ์ตูนหรือภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ แทนตัวผู้สนทนาได้ นอกจากการสนทนาแล้ว ผู้ใช้ยังสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและไฟล์ได้อีกด้วย

        การใช้งาน IRC ผู้ใช้จะต้องติดต่อไปยังเครื่องที่เป็นไออาร์ซีเซิร์ฟเวอร์ (IRC server) ที่มีการแบ่งห้องสนทนาเป็นกลุ่ม ๆ ที่เรียกว่า แชนแนล (channel) โดยผู้ใช้จะต้องมีโปรแกรมเพื่อใช้สำหรับการสนทนา (ซึ่งสามารถดาวน์โหลดฟรีจากอินเทอร์เน็ต) เมื่อผู้ใช้ติดต่อกับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ได้แล้ว ก็จะเลือกกลุ่มสนทนาหรือหัวข้อสนทนาที่สนใจ และเริ่มสนทนาได้ตามความต้องการ ตัวอย่าง โปรแกรมสนทนาออนไลน์ที่นิยมใช้กัน ในปัจจุบัน เช่น ICQ(I Seek You) และ mIRC

        การสนทนาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันผู้ใช้สามารถใช้สื่อประสม (multimedia) ประกอบด้วย เสียงพูด และภาพเคลื่อนไหว โดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ไมโครโฟน ลำโพง กล้องวีดีโอ และอื่น ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกและเพื่อประสิทธิภาพของการสนทนา ให้ดียิ่งขึ้น ในส่วนของโปรแกรม ได้มีการพัฒนาโปรแกรมเพื่อการสนทนาออนไลน์ที่มีคุณภาพ เช่น โปรแกรม Microsoft NetMeeting ที่สามารถสนทนากันไปพร้อม ๆ กับมองเห็นภาพของคู่สนทนาได้ด้วย

        1.5 เทลเน็ต (telnet)
        เทลเน็ตเป็นบริการที่ให้ผู้ใช้สามารถใช้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ระยะไกล โดยจะใช้การจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ที่กำลังใช้งานอยู่ ให้เป็นจอภาพ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ระยะไกลเครื่องนั้น การทำงานในลักษณะนี้ จะช่วยประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในกรณีที่ต้องเดินทางไปใช้งาน เครื่องคอมพิวเตอร์ระยะไกล การใช้งานเทลเน็ตจะเป็นการแสดงข้อความตัวอักษร (text mode) โดยปกติการเข้าไปใช้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์ ระยะไกล จำเป็นต้องมีรายชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน แต่ก็มีบางหน่วยงานที่อนุญาติให้เข้าใช้บริการโดยไม่ต้องระบุรหัสผ่านเพื่อ เป็นการให้บริการข้อมูลแก่ลูกค้าทั่ว ๆ ไป


        2.บริการด้านข้อมูลต่าง ๆ
        2.1 การขนถ่ายไฟล์(file transfer protocol)
        การขนถ่ายไฟล์ หรือที่เรียกสั้น ๆว่า เอฟทีพี (FTP) เป็นบริการที่ใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ทางอินเตอร์เน็ต เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการไฟล์จะเรียกว่า เอฟทีพีเซิร์ฟเวอร์ (FTP sever หรือ FTP site)

        ข้อมูลที่ให้บริการขนถ่ายไฟล์จะมีลักษณะหลายรูปแบบ ได้แก่ ข้อมูลสถิติ งานวิจัย บทความ เพลง ข่าวสารทั่วไป หรือโปรแกรมฟรีแวร์ (freeware) ที่สามารถดาวน์โหลดและใช้โปรแกรมฟรี

        ในบางครั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการขนถ่ายไฟล์จะให้บริการเฉพาะบุคคลที่มีบัญชีรายชื่ออยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ก้ฒีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการขนถ่ายไฟล์จำนวนมากอนุญาตให้ผู้ใช้ทั่วไปได้เข้าไปใช้บริการ ถึงแม้ว่าในบางครั้งจะไม่อนุญาต ให้ขนถ่ายไฟล์ทั้งหมดก็ตาม

        2.2 โกเฟอร์ (gopher)
        เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ให้บริการข้อมูลในลักษณะของการค้นหาจากเมนู(menu-based search) จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการข้อมูล โปรแกรมโกเฟอร์พัฒนาโดยมหาวิทยาลัย Minnesota ในปี ค.ศ. 1991 เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการฐานข้อมูลจะเป็นลักษณะของเมนูลำดับชั้น (hierarchy) เพื่อเชื่อมโยงไปยังแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ที่กระจายกันอยู่หลายแหล่งได้

        2.3 อาร์ซี (archie)
        อาร์ซี เป็นการเข้าใช้บริการค้นหาข้อมูลจากเครื่องแม่ข่ายที่เป็นอาร์ซีเซิร์ฟเวอร์ (archie sever ) ซึ่งเป็นแหล่งที่ช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาสถานที่ของข้อมูล จากนั้นก็จะไปค้นข้อมูลโดยตรงจากสถานที่นั้นต่อไป

        2.4 WAIS (Wide Area Information Severs)
        WAIS เป็นบริการค้นหาข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตที่ได้รวบรวมข้อมูลและดรรชนีสำหรับสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้เพื่อสามารถเข้าไปยังข้อมูลที่ต้องการและสามารถเชื่อมโยงไปยังศูนย์ข้อมูล WAIS อื่นๆ ได้ด้วย

        2.5 veronica
        veronica ย่อมาจาก very easy rodent-oriented net-wide index to computerized archives เป็นบริการที่รวบรวมข้อมูลเพื่อช่วยอำนวย ความสะดวกในการค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว

        2.6 การค้นหาข้อมูลโดยใช้เว็บเบราเซอร์
        อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายใยแมงมุมที่มีการเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วโลก การค้นหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ถ้าผู้ใช้ไม่ทราบที่อยู่ของเว็บไซต์ ก็สามารถค้นหาแหล่งข้อมูลโดยใช้บริการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วปัจจุบันการค้นหาข้อมูลที่ต้องการเป็นเรื่อง ที่กระทำได้สะดวกและรวดเร็ว การพัฒนาเว็บไซต์ที่ช่วยสืบค้นแหล่งข้อมูลที่เรียกว่า เครื่องค้นหา (search engine) ช่วยให้การค้นหาทั้งในรูปของ ข้อความและกราฟิกกระทำได้โดยง่าย เว็บไซต์ที่ช่วยสำหรับการสืบค้นข้อมูลที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ yahoo.com, altavista.com, lycos.com, excite.com, ask.com, infoseek.ccom
   ค่าบริการ อินเทอร์เน็ต
          ในตลาดบริการ อินเทอร์เน็ต ทั้งสองตลาดมีอัตราค่าบริการที่ต่างกันตามคุณภาพบริการหรืออัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูล กล่าวคือ ตลาดอินเทอร์เน็ต ความเร็วต่ำ (Narrow Band) จะมีอัตราค่าบริการที่ต่ำกว่าตลาด อินเทอร์เน็ต ความเร็วสูง (Broad Band) โดยแนวโน้มของอัตราค่าบริการ อินเทอร์เน็ต มีแนวโน้มลดลงมาโดยตลอด (สอดคล้องกับหลัการแข่งขันเสรีอย่างเป็นธรรม) ปัจจุบันอัตราค่าบริการ อินเทอร์เน็ต ความเร็วต่ำราคาค่าบริการต่ำสุด 4 บาทต่อชั่วโมง ในขณะที่อัตราค่าบริการ อินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงอัตราค่าบริการต่ำสุดที่ 290 บาทต่อเดือน
       



อ้างอิง